search icon mobile
search on header
จำนวนผู้เข้าชม 6,808,974

ข่าวปลอม อย่าแชร์! Cinplex และสีเสนใช้ลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้

ตามที่มีข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องCinplex และสีเสนใช้ลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีบทความในสังคมออนไลน์โดยระบุว่ากินCinplex และสีเสนลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด เสี่ยงอัมพฤกษ์ ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและชี้แจงว่าCinplex และ สีเสน เป็นอาหารเสริม ไม่ใช่ยา อีกทั้งยังไม่มีการทดลองทางคลินิกว่าสามารถลดไขมันได้จริง และไม่มีการศึกษาผลข้างเคียงและอันตรายหลังการใช้

โรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรังเกิดจากการที่หลอดเลือดตีบตัน เพราะมีไขมันเกาะผนังหลอดเลือดสะสมเป็นเวลานาน (Plaque) จนผนังหลอดเลือดตีบแคบลง โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดการปริตัวหรือแตกเป็นแผลจะทำให้เลือดแข็งตัวกลายเป็นลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด จนเลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงหัวใจ กลายเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสียหายหรือตายบางส่วน

โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นภาวะที่สมองสูญเสียการทำงานบางส่วนอย่างเฉียบพลันจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือจากหลอดเลือดสมองแตก ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย อาการแสดงและความรุนแรง ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และขนาดของเนื้อสมองที่สูญเสียการทำงาน พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ สูงอายุ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่  ไขมันในเลือดสูง  หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ Atrial fibrillation (AF) หรือหัวใจขาดเลือด ภาวะอ้วนหรือขาดการออกกำลังกาย ญาติสายตรง (พ่อ แม่/หรือพี่น้อง)  เป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมอง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : Cinplex และ สีเสน เป็นอาหารเสริม ไม่ใช่ยา อีกทั้งยังไม่มีการทดลองทางคลินิกว่าสามารถลดไขมันได้จริง และไม่มีการศึกษาผลข้างเคียงและอันตรายหลังการใช้

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด