search icon mobile
search on header
จำนวนผู้เข้าชม 6,808,974

ข่าวบิดเบือน ถูกย้ายตำแหน่งงานโดยไม่ถามความสมัครใจ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียลมีเดียเรื่องถูกย้ายตำแหน่งงานโดยไม่ถามความสมัครใจ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลระบุว่า ถูกย้ายตำแหน่งงานโดยไม่ถามความสมัครใจ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวและชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวเป็นข่าวบิดเบือน เนื่องจากการที่นายจ้างโยกย้ายตำแหน่งงานลูกจ้าง มีได้หลายสาเหตุ ดังนี้

1. นายจ้างมีอำนาจในทางบริหารจัดการงานบุคคลที่จะโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างตามความเหมาะสมและความจำเป็นของกิจการ เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร ทั้งนี้ ตำแหน่งหน้าที่ใหม่ที่ลูกจ้างย้ายไปและค่าจ้างต้องไม่ต่ำกว่าเดิม และต้องไม่เป็นการย้ายด้วยเหตุกลั่นแกล้งลูกจ้าง รวมทั้งควรต้องให้เวลาอย่างเพียงพอที่จะให้ลูกจ้างเตรียมตัวโยกย้ายงาน คำสั่งเช่นนี้จึงจะชอบด้วยด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามหากไม่ปฏิบัติตาม ย่อมถือเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและเป็นการละทิ้งหน้าที่เกินกว่า 3 วัน ทำงานติดต่อกัน เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย

2. หากนายจ้างโยกย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งต่ำกว่าเดิม หรือ อัตราค่าจ้างลดลง โดยลูกจ้างไม่ยินยอม ย่อมเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุนี้ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย

3. กรณีลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน

website stamp 4095

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.labour.go.th หรือโทร 1546 หรือ 1506 กด 3

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การที่นายจ้างโยกย้ายตำแหน่งงานลูกจ้าง มีได้หลายสาเหตุ แต่ควรต้องให้เวลาอย่างเพียงพอที่จะให้ลูกจ้างเตรียมตัวโยกย้ายงาน หรือหากนายจ้างโยกย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งต่ำกว่าเดิม หรือ อัตราค่าจ้างลดลง โดยลูกจ้างไม่ยินยอม ย่อมเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุนี้ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด